ดูดไขมันคืออะไร?

การดูดไขมัน (Liposuction) คือเป็นกระบวนการทางศัลยกรรมเพื่อขจัดไขมันส่วนเกินออกจากร่างกายในชั้นใต้ผิวหนังออกจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการดูดเฉพาะจุด ที่ลดได้ยาก ถึงแม้ว่าเราจะออกกำลังกาย หรือควบคุมอาหารก็ไม่สามารถขจัดได้หมดเช่น หน้าท้อง สะโพก ต้นขา ก้น แขน หรือคอ เหนียง เอวแก้ว หนอก ซึ่งล้วนเป็นส่วนที่ลดยากทั้งนั้น ยิ่งคนมีแก้มด้วยแล้วเวลากินอะไรที่ไม่ระวังไปนิดหน่อย ก็ออกแล้ว ดังนั้นการดูดไขมันจึงเป็นตัวช่วยที่ดี

การดูดไขมันบางคนอาจเข้าใจผิดคิดว่ารักษาโรคอ้วน จริง ๆ แล้วเหมาะสำหรับผู้ที่มีรูปร่างและน้ำหนักตัวที่ปกติและต้องการจะมีสัดส่วนที่ดีขึ้นหรือต้องการที่จะมีสัดส่วนในแบบที่ต้องการ และมีบริเวณที่มีการสะสมของไขมันที่กำจัดได้ยากจึงใช้วิธีการดูดไขมันเพื่อกำจัดออก

 การดูดไขมันจะมีอยู่ด้วยกัน 2 วิธี

ดูดไขมัน

1.การใช้การดมยาสลบ ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้ในสมัยเมื่อก่อน ปัจจุบันทางการแพทย์เกือบจะไม่มีให้เห็น

2.โดยการดูดไขมันด้วยเทคนิค Tumescent หรือการใส่ยาชาและน้ำเกลือที่เนื้อเยื่อไขมัน ซึ่งการดูดไขมันเทคนิค Tumescent เป็นวิธีการดูดไขมันวิธีหลักโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่นิยมใช้ในปัจจุบัน

การเตรียมความพร้อมก่อนการเข้ารับการดูดไขมัน

ปัจจุบันผู้ที่เข้ารับการดูดไขมัน อาจไม่จำเป็นต้องพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล เพราะจะใช้ระยะเวลาของขั้นตอนการดูดไขมันประมาณ 2 ชั่วโมง และขึ้นอยู่ประเภทของการดูดไขมัน ก่อนจะทำการดูดไขมัน คุณต้องเข้าพบแพทย์เพื่อทำการสอบถามประวัติการรักษา โรคประจำตัวของเรา การใช้ยารักษาโรค อาหารเสริม  ต้องมีการปรึกษาพูดคุยกับศัลยแพทย์ถึงความคาดหวังและเป้าหมายของการศัลยกรรมดูดไขมัน มีการตรวจสอบประวัติและตรวจสอบทางการแพทย์ต่าง ๆ ผู้เข้ารับการดูดไขมันต้องเป็นผู้ที่มีสุขภาพดี โดยที่อย่างน้อยต้องมีน้ำหนักตัวใกล้เคียงกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ มีผิวหนังที่เด้งกระชับ ไม่สูบบุหรี่ นอกจากนั้น แพทย์จะไม่แนะนำให้ดูดไขมัน หากมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ เช่น การไหลเวียน โรคหัวใจ หรือโรคที่แพทย์วินิจฉัยว่าจะเกิดอันตราย ก็จะไม่รับทำให้

การดูแลตัวเองหลังการเข้ารับการดูดไขมัน

การดูดไขมันเป็นการขจัดไขมันออกจากร่างกายอย่างถาวร แต่ก็มีโอกาสกลับมาเป็นใหม่ หากเราไม่ดูแลรักษาดี ๆ ทั้งการออกกำลังการ การกินอาหาร ไขมันส่วนเกินสามารถเพิ่มมาได้ใหม่ หรือมีน้ำหนักเพิ่มได้อีก การดูดไขมัน อาจช่วยให้ไขมันออกไปจากร่างกายประมาณ 60% ของไขมันทั้งหมดเซลล์ไขมันนี้สามารถกลับมาได้อีก แต่ไม่กลับมาถึง 100% เท่าเดิม

ดังนั้นต้องควบคุมการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายอย่างจริงจังเพื่อที่จะไขมันจะได้ไม่กลับมาเป็นซ้ำอีก หากดูแลไม่ดี หรือในบุคคลที่เซลล์ไขมันพอกพูนได้เร็ว ไขมันก็อาจจะกลับมาได้ภายในระยะเวลาประมาณ 2 ปี แต่หากคนไข้ดูแลตัวเองดี ผลลัพธ์ของการดูดไขมันก็จะอยู่ได้นานกว่านั้น

หลังการดูดไขมันแพทย์จะให้พักฟื้นในคลินิกประมาณ 1-2 ชั่วโมงเพื่อดูอาการ อาจจะมีน้ำไหลซึมออกจากแผลได้ นอกจากนั้น บริเวณที่ดูดไขมันอาจจะเกิดอาการช้ำ บวม และมีความเจ็บปวดหลังการดูดไขมัน แต่จะเป็นเพียงไม่กี่สัปดาห์แผลก็จะหาย และแพทย์อาจให้สวมใส่ชุดกระชับสัดส่วนเป็นเวลาประมาณ 1-2 เดือน เพื่อช่วยในการควบคุมอาการบวมที่เกิดขึ้น และอาจต้องรับประทานยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่อาจเกิดขึ้นในบางราย 

และระยะเวลาพักฟื้น ผู้ที่เข้ารับการดูดไขมันจะสามารถกลับมาทำงานได้ภายในไม่กี่วัน และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติภายใน 2 สัปดาห์ แต่ก็ขึ้นอยู่กับแผลของแต่ละบุคคลด้วย ระยะเวลาจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล

หลังการดูดไขมันอาจมีผลข้างเคียง

  • มีการบวมและช้ำ ซึ่งอาจเป็นนานถึง 6 เดือนขึ้นอยู่กับแผลของบุคคลนั้น
  • มีอาการชาเนื่องจากผลจากการใส่ยาชาในการดูดไขมัน ซึ่งจะหายไปเองภายใน 6-8 สัปดาห์
  • แน่นอนอาจมีรอยแผลเป็นดังนั้นควรหาครีมรักษาแผลเป็นมาทา
  • อาจเกิดการอักเสบในบริเวณที่รับการรักษาซึ่งจะค่อย ๆ หายไปหลังจากแผลหายดี
  • มีการสะสมของของเหลว เป็นถุงใต้ผิวหนังดังนั้นเราต้องออกกำลังกายเป็นประจำ และทำการแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
  • อาจการเปลี่ยนแปลงของสีผิวในพื้นที่ที่ได้รับการรักษา

ภาวะแทรกซ้อน

  • ในบางรายเมื่อดูดไขมันไปแล้วอาจทำให้ผิวหนังบริเวณที่ถูกดูดไขมันออกไปไม่เรียบ เป็นรอยคลื่น อาจเกิดจากดูดไขมันในชั้นผิวที่ไม่ลึกมากพอ หรือบางรายผิวอาจแข็ง เนื่องจากเนื้อเยื่อแข็งขึ้น แต่สามารถรักษาได้โดยการนวด ไม่ว่าจะเป็นนวดแผนไทยหรือนวดน้ำมัน 
  • บางรายอาจเกิดการติดเชื้อของแผลผ่าตัด ควรรักษาแผลผ่าตัดให้สะอาดและแห้งอยู่เสมอเพื่อป้องกันการติดเชื้อ

หลังดูดไขมันควรดูแลตัวเองอย่างไร

  • งดออกกำลังกายหนักๆ 1 เดือน และสวมใส่ชุดกระชับสัดส่วนที่แพทย์แนะนำไว้ตลอดระยะเวลานั้นด้วย
  • หลีกเลี่ยงระมัดระวังการโดนน้ำหรือความเปียกชื้น จนกว่าแผลจะสมานตัวเรียบร้อย
  • เมื่อแผลหายสนิทและอาการคงที่แล้ว ควรออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อป้องกันการเกิดไขมันสะสม
  • ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีแคลอรีต่ำควบคุมอาหารที่ให้พลังงานแคลอรีที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน อาหารที่แนะนำ ได้แก่ ข้าวกล้อง ข้าวไรซ์เบอร์รี สลัดไก่ สลัดผัก สลัดทูน่า แกงจืดหมู ส้มตำ ยำต่างๆ ไข่ต้ม 
  • เลือกรับประทานผักและผลไม้ที่มีแร่ธาตุและไฟเบอร์ตามคำแนะนำของแพทย์