โควิด กรุงเทพ

โควิด กรุงเทพ เป็นจังหวัดที่เป็นเมืองหลวงของประเทศไทย ซึ่งมีประชาชนอาศัยเป็นจำนวนมาก เพราะเป็นศูนย์รวมทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม จึงทำให้มีจำนวนประชากรมาอาศัยเป็นอันดับ 1 ของประเทศ จึงทำให้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของคิด-19 ในกรุงเทพ มีจำนวนผู้ติดเชื้อสูงที่สุดในประเทศ และมีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว จึงเป็นจังหวัดที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เยอะมากที่สุด ในปัจจุบันที่พบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งที่ผ่านมากรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้เร่งดำเนินการค้นหาเชิงรุกเพื่อนำผู้ป่วยเข้าสู่กระบวนการรักษาอย่างต่อเนื่อง และเพื่อให้การควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  จึงได้ จัดตั้ง “สายด่วนโควิดเขต” เป็นสายตรงถึง 50 สำนักงานเขต เขตละ 20 คู่สาย เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยให้เข้าสู่ระบบการดูแลรักษาโดยเร็ว โดยจะมีเจ้าหน้าที่คอยให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งขณะนี้บางเขตที่มีความพร้อมได้เริ่มทยอยให้บริการมาตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 64 และจะดำเนินการให้ครบทั้ง 50 เขตโดยเร็ว

โควิด กรุงเทพ

เร่งดูแลผู้ป่วยโควิดด้วย BKK HI/CI Care

นอกจากนี้ กทม. ได้ปรับวิธีการตรวจเชิงรุกโดยมีทีม CCRT ตรวจหาเชื้อด้วย Antigen Test Kit (ATK) ที่รู้ผลการตรวจเร็วขึ้น เพื่อแยกผู้ที่สงสัยว่าจะติดเชื้อโควิด-19 ให้ได้มากที่สุดก่อน โดยผู้ที่มีผลตรวจจาก ATK เป็นลบสามารถกลับบ้านได้ แต่หากเป็นผู้เสี่ยงสูงแนะนำให้แยกตัวจากผู้อื่น

แต่หากมีผลติดเชื้อจะส่งตรวจ Rt-PCR ซ้ำอีกที่จุดตรวจเดียวกัน หรือส่งเข้าศูนย์พักคอย (Community Isolation : CI) แยกโซนเฉพาะผู้ที่มีผลจาก ATK ซึ่งผู้มีผลติดเชื้อจะต้องเซ็นยินยอมในใบ Informed Consent จากนั้นจะมีหน่วยตรวจ Rt-PCR มาตรวจหาเชื้อซ้ำอีกครั้งที่ศูนย์พักคอย เพื่อให้ได้ผลยืนยันการติดเชื้อก่อนเข้าสู่ระบบการรักษา

ผู้ป่วยที่มีผลตรวจยืนยันเป็นผู้ติดเชื้อและต้องการแยกรักษาตัวอยู่ที่บ้าน (Home Isolation : HI) หน่วยเชิงรุกจะส่งข้อมูลเข้าระบบ BKK HI/CI Care หรือผู้ป่วยสามารถติดต่อเข้าระบบการรักษาได้ที่ โทรสายด่วน 1330 หรือสายด่วนโควิดเขตทุกเขต เพื่อที่จะได้รับการดูแลติดตามอาการจากแพทย์ และได้รับชุดอุปกรณ์ HI เครื่องวัดออกซิเจน ปรอทวัดไข้ หน้ากากอนามัย แอลกอฮอล์ โดยจะมีจิตอาสาส่งยาและอาหารให้ครบทั้ง 3 มื้ออาหาร ตลอดระยะเวลาที่อยู่ในระบบการรักษา และถ้าผู้ป่วยที่รักษาแบบ HI มีอาการรุนแรงขึ้น ตามคำวินิจฉัยจากแพทย์ที่ดูแล จะนำส่งเข้ารักษาใน รพ.สนาม Hospitel หรือ รพ. ต่อไป

กทม.สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว

ปรับการบังคับใช้บางมาตรการ เพื่อลดผลกระทบต่อประชาชนทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม ภายใต้มาตรการป้องกันและควบคุมโรคอย่างเคร่งครัด  เนื้อหาสำคัญดังต่อไปนี้

  1. ปิดสถานที่ต่อ ตามประกาศเดิมที่ระบุไว้ในประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว โดยให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดตามความมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ฉบับที่ 28
  2. ร้านอาหารหรือเครื่องดื่มที่ตั้งอยู่ในห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ เปิดได้ถึงเวลา 20.00 น. โดยผ่านการบริการขนส่งอาหาร (Food Delivery Service) เท่านั้น และดำเนินการภายใต้มาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด
  3. ไซต์ก่อสร้าง แคมป์คนงาน การเคลื่อนย้ายแรงงาน ดำเนินการได้ภายใต้มาตรการฯ ที่กำหนดอย่างเคร่งครัด โดยควบคุมโรคในพื้นที่เฉพาะ (Bubble and Seal) และกำกับควบคุมการเคลื่อนย้าย (Sealed Route)

การจัดทีม CCRT ป้องกันและแก้ไขเชิงรุกในชุมชน กรุงเทพมหานคร

ผู้อำนวยการสำนักอนามัย เปิดเผยว่า กรุงเทพมหานคร โดยสำนักอนามัย สำนักงานเขต ศูนย์บริการสาธารณสุขทั้ง 69 แห่ง บูรณการความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง ประชาชน จิตอาสา จัดทีมปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาโควิด-19 เชิงรุก Comprehensive Covid-19 Response Team (CCRT) ลงพื้นที่ชุมชน ระหว่างวันที่ 15-31 ก.ค.64

โดยทีม CCRT จะทำหน้าที่ สำรวจชุมชนเพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้ป่วยโควิด ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว 7 กลุ่มโรค และหญิงตั้งครรภ์, ให้บริการตรวจคัดกรองค้นหาผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในชุมชน ด้วยชุดตรวจ Antigen Test Kit, ให้การรักษาพยาบาลเบื้องต้นก่อนส่งต่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล โดยการจ่ายยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจร และให้คำแนะนำในการแยกกักที่บ้าน (HI : Home Isolation) และมอบชุด HI แก่ผู้ป่วยที่สามารถกักตัวที่บ้านได้

สำหรับผู้ที่ไม่สามารถกักตัวที่บ้านได้ ทีมจะนำผู้ป่วยนำส่งศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ (Community Isolation) จะดำเนินการกักกันผู้สัมผัสเสี่ยงสูงที่บ้าน และมอบชุด HQ : Home Quarantine หรือส่งเข้า LQ : Local Quarantine ให้บริการฉีดวัคซีนกับกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว 7 กลุ่มโรค หญิงตั้งครรภ์ สื่อสารทำความเข้าใจ ให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับโรคโควิด-19 การปฏิบัติตนให้ห่างไกลจากโรคโควิด

ความคืบหน้าการจัดตั้งศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ

ปัจจุบันกรุงเทพมหานคร จัดตั้งศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ หรือ Community Isolation เพื่อรองรับผู้ป่วย คลินิกตรวจโควิด ที่มีผลตรวจรับรองว่าติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มศักยภาพการดูแลรักษาผู้ป่วยตกค้าง รวมทั้งป้องกันและควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในพื้นที่ 6 กลุ่มเขต โดยมีเป้าหมาย 1 เขต 1 ศูนย์พักคอย ขณะนี้จัดตั้งศูนย์พักคอยฯ แล้ว จำนวน 50 แห่ง อยู่ในพื้นที่เขต 47 เขต เปิดบริการแล้ว จำนวน 21 แห่ง รองรับผู้ป่วยได้ 5,781 เตียง

นอกจากนี้ ยังได้จัดตั้งศูนย์พักคอยสำหรับเด็กเพื่อส่งต่อ บริเวณศูนย์สร้างสุขทุกวัยเกียกกาย เขตดุสิต โดยปรับปรุงพื้นที่ชั้น 3 จัดทำเป็นสถานที่ดูแลผู้ป่วยเด็ก สามารถรองรับผู้ป่วยเด็กได้ 52 เตียง แบ่งเป็นชาย 26 เตียง และหญิง 26 เตียง โดยมีทีมแพทย์จากวชิรพยาบาล เป็นผู้บริหารจัดการผู้ป่วยเด็ก รวมทั้งมีอาสาสมัคร พี่เลี้ยงเด็ก ครูอาสาคอยดูแลอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง และหากมีอาการที่จะต้องเข้ารักษาพยาบาล ก็สามารถส่งเข้าโรงพยาบาลได้ทันที.